คุณกำลังมองหาอะไร?

ลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.04.2568
9
0
แชร์
10
เมษายน
2568

เจ้าของผลงาน : น.ส.คมขำ สุทธิ
ปีงบประมาณ : 2568
วันที่ประกาศ : 10/04/2568

 บทคัดย่อ

             การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการปฏิบัติตัว 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพและ 3) เปรียบเทียบระดับความดันซิสโตลิกและไดแอสโตลิกของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ ก่อนและหลังเข้าร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเดียวกัน และระหว่างกลุ่มโดย
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก รวม 62 ราย โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เป็นเวลา 12  สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบให้การพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงและการคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้  แบบประเมินพฤติกรรม และวัดความดันโลหิต ก่อนและหลังการทดลอง ของทั้ง 2 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา , Paired sample t-test, Independent-t test  ผลการวิจัย พบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการปฏิบัติตัวสูงกว่าก่อนการทดลอง และ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.001) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลอง และ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ  (p<0.001)  และผู้ป่วยกลุ่มทดลองสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้มากกว่าก่อนการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.001)

คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ได้  โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการรับรู้ พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต ระดับความดันโลหิต

 

เลขที่รับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (EC) : 28/2567 จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

บทคัดย่อผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติก.pdf
ขนาดไฟล์ 78KB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน